เมนู

สำนักของพระสิคควเถระ และพระจัณฑวัชชีเถระ ผู้เป็นอุปัชฌายะของตน."
แท้จริง ลำดับแห่งพระอาจารย์ อันพระวินัยธรเรียนเอาแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็น
อันเธอจำได้อย่างถูกต้อง แต่เมื่อไม่สามารถจะเรียนเอาอย่างนั้น ก็ควรเรียน
เอาเพียง 2-3 ลำดับก็พอ. จริงอยู่ โดยนัยอย่างหลังที่สุด ควรทราบเหมือน
อย่างพระอาจารย์ และอาจารย์ของอาจารย์ กล่าวบาลีและปริปุจฉา ฉะนั้น.

[พระวินัยธรจะวินิจฉัยอธิกรณ์ควรตรวจดูฐานะ 6 อย่างก่อน]


ก็แล พระวินัยธรผู้ประกอบพร้อมด้วยลักษณะ 3 อย่างนี้แล้ว เมื่อ
สงฆ์ประชุมกันเพื่อวินิจฉัยเรื่อง และเรื่องที่หยั่งลงแล้ว ทั้งโจทก์แลจำเลยก็ให้
การแล้ว เมื่อจะพูดไม่ควรด่วนตัดสินทีเดียว ควรตรวจดูฐานะทั้ง 6 เสียก่อน.
ฐานะ 6 อย่าง เป็นไฉน? ฐานะ 6 อย่างนั้นคือ:- ควรตรวจดู
เรื่อง 1 ตรวจดูมาติกา 1 ตรวจดูบทภาชนีย์ 1 ตรวจดูติกปริจเฉท 1
ตรวจดูอันตราบัติ 1 ตรวจดูอนาบัติ 1.

[อรรถาธิบายฐานะ 6 อย่าง]


จริงอยู่ พระวินัยธร แม้เมื่อตรวจดูเรื่อง ย่อมเห็นอาบัติบางอย่าง
อย่างนี้คือ ภิกษุผู้มีจีวรหาย ควรเอาหญ้าหรือใบไม้ปกปิดจึงมา, แต่ไม่
ควรเปลือยกายมาเลย, ภิกษุใดพึงเปลือยกายมา, ภิกษุนั้นต้องอาบัติทุกกฏ.1
พระวินัยธรนั้น ครั้นนำสูตรนั้นมาอ้างแล้ว จักระงับอธิกรณ์นั้นได้.
เธอ แม้เมื่อตรวจดูมาติกา ย่อมเห็นบรรดาอาบัติ 5 กอง กองใด
กองหนึ่ง โดยนัยมีอาทิว่า "เป็นปาจิตตีย์" ในเพราะสัมปชานมุสาวาท.2"
เธอครั้นนำสูตรนั้นมาอ้างแล้ว จักระงับอธิกรณ์นั้นได้.
เธอ แม้เมื่อตรวจดูบทภาชนีย์ ย่อมเห็นบรรดาอาบัติ 7 กอง กอง
ใดกองหนึ่ง โดยนัยมีอาทิว่า "ภิกษุเสพเมถุนธรรมในสรีระที่สัตว์ยังมิได้กัดกิน
1. วิ. มหา. 2/38. 2. วิ. มหา. 2/154.

ต้องอาบัติปาราชิก,1 เสพเมถุนธรรมในสรีระที่สัตว์กัดกินแล้วโดยมาก ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย.2 เธอ ครั้นนำสูตรจากบทภาชนีย์มาอ้างแล้ว จักระงับอธิกรณ์
นั้นได้.
เธอ แม้เมื่อตรวจดูติกปริจเฉท ย่อมเห็นการกำหนดติกสังฆาทิเสส
บ้าง ติกปาจิตตีย์บ้าง ติกทุกกฏบ้าง อาบัติอย่างใดอย่างหนึ่งบ้าง. เธอ ครั้น
นำสูตรมาจากบาลีติกปริจเฉทนั้นมาอ้างแล้ว จักระงับอธิกรณ์นั้นได้.
เธอ แม้เมื่อตรวจดูอันตราบัติ จะเห็นอันตราบัติ ซึ่งมีอยู่ในระหว่าง
แห่งสิกขาบทอย่างนี้ คือ ภิกษุ ยักคิ้ว ต้องอาบัติทุกกฏ. เธอ ครั้นนำสูตร
นั้นมาอ้างแล้ว จักระงับอธิกรณ์นั้นได้.
เธอ แม้เมื่อตรวจดูอนาบัติ จะเห็นอนาบัติที่ท่านแสดงไว้แล้วใน
สิกขาบทนั้น ๆ อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ ! ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ไม่ยินดี ไม่มี
ไถยจิต ไม่มีความประสงค์จะให้ตาย ไม่มีความประสงค์จะอวด ไม่มีความ
ความประสงค์จะปล่อย ไม่แกล้ง ไม่รู้ เพราะไม่มีสติ. เธอ ครั้นนำสูตร
นั้นมาอ้างแล้ว จักระงับอธิกรณ์นั้นได้.
จริงอยู่ ภิกษุใด เป็นผู้ฉลาดในวินัย 4 อย่าง สมบูรณ์ด้วยลักษณะ 3
ได้ตรวจดูฐานะ 6 อย่างนี้แล้ว จักระงับอธิกรณ์ได้. การวินิจฉัย (อธิกรณ์)
ของภิกษุนั้นใคร ๆ ให้เป็นไปทัดเทียมไม่ได้ ย่อมเป็นเช่นกับวินิจฉัยที่พระ-
พุทธเจ้าประทับนั่งวินิจฉัยเสียเอง.

[วิธีวินิจฉัยอธิกรณ์]


ถ้าภิกษุบางรูป ผู้ทำการล่วงละเมิดสิกขาบทแล้ว เข้าไปหาภิกษุผู้ฉลาด
ในการวินิจฉัยนั้น อย่างนั้นแล้ว พึงถามถึงข้อรังเกียจสงสัยของตนไซร้, ภิกษุ
1-2. วิ. มหา. 1/68-8.